5 เคล็ดลับสุดเก๋ในการออกแบบ “การ์ดงานแต่ง”
วันนี้เรามี 5 เคล็ดลับเด็ดๆ มาฝากกัน รับรองว่าการ์ดงานแต่งของคุณจะต้องปังแน่นอน! มาดูกันเลยว่ามีเคล็ดลับอะไรบ้าง
“สบู่” เป็นสินค้า ผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการทำความสะอาดร่างกาย ที่จะต้องมีติดไว้ในบ้านทุกครัวเรือน หรือตามสถานที่สาธารณะ ทั้งในห้างสรรพสินค้า หรือตามห้องน้ำร้านค้า ร้านอาหาร ต่างๆ โดยทั่วไปแล้วสบู่ก็จะแบ่งได้อยู่ 2 ประเภทหลักๆ คือ สบู่ก้อน และสบู่เหลว และรูปแบบของสบู่ทั้งสองประเภทก็จะมีการใช้งานที่แตกต่างกันไป เพราะเหตุนี้แพคเกจจิ้งที่บรรจุสบู่จึงต้องมีดีไซน์ให้สอดคล้องตามการใช้งานจริง อย่างเช่น สบู่ก้อนจะบรรจุอยู่ในแพคเกจชนิดกล่องเป็นหลัก หรือสบู่เหลวก็จะอยู่ในแพคเกจรูปทรงขวด หรือทรงกระบอก เป็นต้น
โดยสบู่ก็ยังแยกประเภทของการใช้งานตามสัดส่วนของร่างกายออกไปได้อีกหลากหลายแบบ ทั้งสบู่ขัดตัว สบู่ขัดหน้า สบู่ขัดผิวขาว ซึ่งทั้งหมดนี้ก็จะมีการออกแบบแพคเกจจิ้งที่แตกต่างกันไป และอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่จะขาดไม่ได้เลยสำหรับแพคเกจจิ้งของกล่องสบู่นั่นก็คือ วัสดุที่นำมาใช้ผลิต โดยวัสดุแต่ละชนิดนั้นก็จะต้องมีคุณสมบัติ และสรรพคุณที่สามารถรองรับ และทนต่อสภาพการใช้งานของสบู่ได้เป็นอย่างดี ฉะนั้นในวันนี้เราจะมาแนะนำวัสดุดีๆ ที่สามารถนำมาใช้ผลิตเป็นแพคเกจจิ้งกล่องสบู่ได้โดยไม่เกิดผลเสีย
วัสดุชนิดนี้จะมีลักษณะเนื้อเน้น และพื้นผิวเรียบเนียน จะมีความมันทั้งสองด้าน โดยทั่วไปแล้วความหนา หรือน้ำหนักของกระดาษชนิดนี้จะอยู่ที่ 120 – 190 แกรม ในการนำมาใช้เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ แต่สำหรับกล่องแพคเกจจิ้ง กระดาษอาร์ตการ์ดจะต้องมีความหนา หรือน้ำหนักอยู่ที่ 200 – 400 แกรม ขึ้นไปเพื่อสามารถรองรับน้ำหนัก สินค้า ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุลงไปได้อย่างไม่เกิดปัญหาใดๆ โดยทั่วไปแล้ว กระดาษอาร์ตจะแบ่งประเภทออกไปได้อีกหลายชนิด ทั้ง อาร์ตการ์ด อาร์ตมัน อาร์ตด้าน ซึ่งทั้ง 3 ชนิดนี้ก็ยังสามารถนำมาใช้ประกอบเป็นวัสดุสำหรับผลิตเป็นแพคเกจสบู่ได้ดีเลยทีเดียว
ผลิตแพคเกจจิ้งกล่องสบู่กับโรงพิมพ์ของเรา
สำหรับวัสดุชนิดนี้จะมีลักษณะที่หยาบอยู่เล็กน้อย และมีความหนาค่อนข้างสูง ซึ่งจะถูกผลิตโดยนำเอาเยื่อไม้มาบดรวมกันจนเกิดเป็นสีเทาตามชื่อ กระดาษแป้งหลังเทา แต่สำหรับกระดาษแป้งหลังขาวต่อมาก็ได้มีการย้อมสีลงไป เพื่อให้สามารถเพิ่มลวดลายลงไปยังวัสดุได้ดียิ่งขึ้น โดยส่วนมากแล้วการนำเอากระดาษแป้งหลังเทา และหลังขาวมาทำเป็นกล่องแพคเกจจิ้งนั้นจะต้องมีขนาดความหนา และน้ำหนักอยู่ที่ 300 -500 แกรมขึ้นไป ซึ่งก็จะได้ความทนทาน และยังสามารถป้องกันความชื้นจากภายนอกเข้าสู้ภายในกล่องเพื่อไม่ให้สินค้าสบู่เกิดความเสียหายได้นั่นเอง
มาถึงวัสดุชนิดสุดท้ายอย่างกระดาษคราฟท์ ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจาก เป็นวัสดุที่ถูกรณรงค์ให้นำมาใช้งาน เนื่องจากวัสดุชนิดนี้ถูกผลิตขึ้นด้วยวิธีการจากธรรมชาติ และไม่มีสารเจือปน จึงทำให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และต่อร่างกาย ยังสามารถย้อยสบายเองได้ตามธรรมชาติอีกด้วย แต่สำหรับการนำมาเป็นแพคเกจจิ้งสำหรับบรรจุสบู่นั่น โดยส่วนมากจะเน้นไปที่สบู่ออร์แกนิค หรือสบู่โฮมเมด ที่ทำขึ้นมาเอง ด้วยรูปลักษณ์สีน้ำตาลเข้มของกระดาษคราฟท์จึงเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับการนำมาใช้เป็นแพคเกจจิ้งสบู่