ออกแบบแพคเกจจิ้งสินค้า OTOP

ออกแบบแพคเกจจิ้งสินค้า OTOP อย่างไรเพื่อแสดงให้เห็นสไตล์พื้นถิ่น

หากย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อนจะมีโครงการของรัฐที่ชื่อว่า “OTOP” หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่ช่วยสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ซึ่งโครงการนี้เป็นเหมือนช่องทางส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ในชุมชนได้เป็นที่รู้จักกับคนในประเทศ รวมไปถึงรู้จักในระดับนานาชาติ โดยโครงการนี้ยังสร้างให้เกิดสินค้า ผลิตภัณฑ์จากพื้นที่ในเขตชุมชนขึ้นมาอย่างมากมาย ทั่วไปแล้วผลิตภัณฑ์ที่ถูกนำเสนอจะมีอยู่หลากหลายประเภท ทั้งอาหาร ของว่าง สินค้าสมุนไพร สินค้าHandmade เป็นต้น ซึ่งส่วนมากแล้วผลิตภัณฑ์ของชุมชนก็จะมีแพคเกจจิ้งที่ถูกออกแบบโดยชาวบ้านทั่วไป รูปแบบหรือการดีไซน์จึงมีลักษณะที่ดูบ้านๆ ไม่ได้มีความทันสมัย หรือดึงดูดให้ผู้บริโภคหันมาสนใจ ในผลิตภัณฑ์ ดังนั้นการดีไซน์ให้แพคเกจจิ้งของผลิตภัณฑ์ OTOP มีความน่าสนใจ เพื่อให้ได้การยอมรับจากผู้บริโภค และเพิ่มยอดขายให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง วันนี้เราจะมาแนะนำเทคนิคของการออกแบบแพคเกจจิ้งสินค้า OTOP ให้มีดีไซน์ที่แสดงถึงเอกลักษณ์พื้นถิ่นของแต่ละชุมชน

เทคนิคการ ออกแบบแพคเกจจิ้ง OTOP ให้มีดีไซน์ที่โดดเด่น และแสดงถึงตัวตนในแต่ละท้องถิ่น

ออกแบบแพคเกจจิ้งสินค้า OTOP อย่างไรเพื่อแสดงให้เห็นสไตล์พื้นถิ่น 1

1. นำเสนอเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชนให้ดูโดดเด่น

สำหรับการนำเสนอผลิตภัณฑ์ผ่านรูปแบบแพคเกจจิ้งนั้น ถือเป็นการแสดงภาพลักษณ์ให้กับสินค้า ละชุมชนนั้นๆ เลยก็ว่าได้ ซึ่งการออกแบบแพคเกจจิ้งก็อาจจะต้องเพิ่มเติมรูปภาพของสินค้า หรือสถานที่ดังลงไปในงานดีไซน์แพคเกจด้วย(หากมีเนื้อที่พอนะ) และอาจจะมีคำขวัญ หรือคำพูดประจำชุมชน เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นถิ่นที่มีความแตกต่างกันไป หรือนำเอาวัสดุที่หาได้จากพื้นที่มาใช้ทำเป็นแพคเกจจิ้ง เพื่อเพิ่มความโดดเด่นให้กับแพคเกจจิ้ง และยังทำให้ดูดีในแบบที่ไม่มีใครเหมือนอีกด้วย

ออกแบบแพคเกจจิ้งสินค้า OTOP อย่างไรเพื่อแสดงให้เห็นสไตล์พื้นถิ่น 2

2. ไม่ควรออกแบบให้แพคเกจจิ้งปิดทึบสินค้าทั้งหมด ควรมีช่องว่างให้เห็นสินค้า

แน่นอนว่าการนำเสนอ ผลิตภัณฑ์ OTOP จะต้องโชว์ตัวสินค้าให้เด่น และเป็นที่น่าสนใจเมื่อนำไปวางจัดจำหน่ายดังนั้นแล้วการออกแบบแพคเกจจิ้งจึงต้องมีการดีไซน์ให้เว้นช่องว่าง หรือเปิดรูไว้ให้ผู้บริโภคได้สามารถเห็นสินค้า ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายในได้ หรือใช้รูปลักษณ์ของแพคเกจจิ้งที่ดูแปลกตา หรือมีดีไซน์ที่ทันสมัย เข้ามาช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นๆ

ออกแบบแพคเกจจิ้งสินค้า OTOP อย่างไรเพื่อแสดงให้เห็นสไตล์พื้นถิ่น 3

3. ออกแบบแพคเกจจิ้งให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย หรือออกแบบให้เจาะตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ

การแนะนำสินค้า ผลิตภัณฑ์ OTOP ของแต่ละชุมชนนั้น โดยส่วนมากแล้ว สินค้าที่ถูกผลิตออกมาจะเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์จากพื้นบ้าน ซึ่งกลุ่มลูกค้าก็จะเป็นคนที่คุ้นเคย หรือกลุ่มคนที่เคยใช้งานไปแล้ว แต่ในทางกลับกัน เราจะต้องดีไซน์ให้แพคเกจจิ้งสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ให้ได้เพื่อเป็นการปราสัมพันธ์ หรือโปรโมทให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น แต่ก็อย่าลืมกลุ่มเป้าหมายหลักที่ต้องดีไซน์ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ยังสนใจในผลิตภัณฑ์ OTOP ชิ้นนี้อยู่นั่นเอง