การดราฟท์ (Draft) งานพิมพ์บรรจุภัณฑ์ สิ่งสำคัญที่ลูกค้าจำเป็นจะต้องรู้ - 1

การดราฟท์ (Draft) งานพิมพ์บรรจุภัณฑ์ สิ่งสำคัญที่ลูกค้าจำเป็นจะต้องรู้

การดราฟท์ (Draft) คืออะไร

การดราฟท์ (Draft) คือการคัดลอก ลอกแบบ หรือร่างแบบให้ออกมาเหมือนกับงานต้นฉบับมากที่สุด โดยส่วนใหญ่จะทำในโปรแกรม Adobe Illustrator หรือ Photoshop ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ทำได้ง่าย รวดเร็ว และได้ผลลัพธ์งานที่มีคุณภาพสูง

สำหรับในส่วนไฟล์งานสแกน จะต่างกับ งาน Draft ค่อนข้างมาก เนื่องจากไฟล์งานสแกนนั้นจะสามารถทำได้ง่ายกว่า และไม่ต้องลงรายละเอียดเยอะ เพราะที่ไฟล์สแกนมานั้นจะได้รายละเอียดครบตามงานต้นแบบ

ซึ่งงานทั้ง 2 ประเภทนี้สำหรับงานของโรงพิมพ์แล้ว ถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างมาก เพราะลูกค้าที่ต้องการสั่งผลิตแพคเกจจิ้งนั้นจะต้องมีไอเดียของแพคเกจมาเป็นต้นแบบเอาไว้ให้ทางโรงพิมพ์ได้ดูเป็นตัวอย่าง Ref หรือไปเป็นแม่แบบ เพื่อทำการออกแบบมาให้เหมือนตามแบบที่ลูกค้าต้องการ

จากที่ได้เกริ่นไปข้างต้นสำหรับการ Draft และไฟล์งานสแกนนั้น ในส่วนงานของโรงพิมพ์ หนึ่งในปัญหาที่ลูกค้าจะพบเจอมากที่สุด และส่วนมากจะไม่เข้าใจนั่นก็คือ มีงานต้นฉบับแล้ว อยากให้โรงพิมพ์ลอกแบบมาให้เหมือนกัน แต่สำหรับในความเป็นจริง โรงพิมพ์จะสามารถถอดจากงานต้นแบบได้เพียงแค่ 70-90% จากการ Draft ที่ลูกค้ามีต้นแบบมาให้ แต่สำหรับงานสแกน จะได้รายละเอียดของงานออกมาเหมือนกับต้นฉบับอยู่ที่ 100% แต่สีหรือความคมชัดของภาพอาจจะดรอปลง10%-15% หรือมากกว่าขึ้นอยู่กับไฟล์ต้นฉบับ

ฉะนั้นในวันนี้เราจะพาลูกค้าที่น่ารักทุกท่านมารู้จักกับเงื่อนไขในการสั่งผลิตงาน Draft และการสั่งผลิตงานจากไฟล์สแกน ว่าต้องมีการเตรียมอะไรบ้างให้กับโรงพิมพ์

การดราฟท์ (Draft) งานพิมพ์บรรจุภัณฑ์ สิ่งสำคัญที่ลูกค้าจำเป็นจะต้องรู้ - 2

เงื่อนไขงาน Draft และไฟล์งานสแกน สำหรับส่งผลิตโรงพิมพ์

งาน Draft ที่ใช้สำหรับโรงพิมพ์ คืออะไร 

เริ่มต้นกันด้วยงาน Draft สำหรับลูกค้าที่น่ารักทุกท่านขั้นตอนแรกๆ ในการสั่งผลิตกับโรงพิมพ์นั้นก็จะต้องมีแบบของแพคเกจจิ้งหรือต้นแบบเพื่อเอาไว้สำหรับให้ทางโรงพิมพ์ได้ทำการคัดลอกจากต้นแบบที่ลูกค้าให้มา ซึ่งทางโรงพิมพ์จะนำเอาต้นแบบที่ได้มานั้นไปทำการ Draft จากรูปที่ได้มาโดยทางแผนกกราฟิกจะต้องเก็บรายละเอียดทีละขั้นตอน อย่างเช่น ถอดแบบขนาด ลายเส้น หรือลักษณะของแพคเกจ

และที่สำคัญ หากลูกค้าไม่มีไฟล์โลโก้ รูปภาพประกอบ ก็จะยิ่งทำให้งานมีความยากมากขึ้นไปอีก เนื่องจากงาน Draft โดยส่วนมากแล้วจะไม่สามารถทำออกมาให้เหมือนกับงานต้นฉบับได้อย่าง 100% เพราะรูปภาพบางชิ้นหรือฟอนต์บางตัวอาจจะติดลิขสิทธิ์ได้นั้นเอง แต่หากลูกค้ามีไฟล์ต้นฉบับของโลโก้หรือรูปภาพประกอบมาด้วยก็จะทำให้งานผลิตสามารถออกมาให้เหมือนต้นแบบได้ดียิ่งขึ้น

งานผลิตที่คัดลอกจาก ไฟล์งานสแกน ที่ลูกค้าส่งมาให้

ต่อกันด้วยการคัดลอกผ่านไฟล์งานสแกน ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นงานที่ง่ายกว่าประเภท Draft เนื่องจากไฟล์ที่ผ่านการสแกนมาแล้วจะมีรายละเอียดมาให้อย่างครบถ้วน ทางโรงพิมพ์จะได้ไม่ต้องทำการ Draft ทีละสัดส่วน ไฟล์งานสแกนที่ลูกค้านำมาให้โรงพิมพ์นั้นจะสามารถรู้ได้ถึงขนาด โลโก้ ตัวหนังสือ เพราะไฟล์ที่ได้มานั้นจะเป็นรูปภาพ หรือไม่ก็เป็นไฟล์ PDF จึงสามารถนำไปถอดแบบเพื่อเตรียมเข้ากระบวนการดีไซน์ของแพคเกจจิ้งต่อไปได้ในทันที

และไฟล์งานที่สแกนมานั้น จะต้องสแกนจากเครื่องปริ้นที่ได้คุณภาพ เพราะจะต้องเก็บรายละเอียดของแพคเกจจิ้งต้นแบบมาให้ได้มากที่สุดนั้นเอง ฉะนั้นแล้วคุณลูกค้าที่น่ารักทุกท่าน หากอยากให้การสั่งผลิตงานแพคเกจจิ้งให้ออกมาดีและเหมือนกับแพคเกจต้นฉบับที่คาดหวังเอาไว้ควรจะนำเอาไฟล์งานแบบสแกนแนบมาให้กับทางโรงพิมพ์เพื่อความสะดวกและการเก็บรายละเอียดที่ดีและเนียนมากที่สุด

การเตรียมไฟล์งานพิมพ์บรรจุภัณฑ์

1.ประเภทของรูปแบบไฟล์ที่โรงพิมพ์ยอมรับ

ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว โรงพิมพ์จะยอมรับรูปแบบไฟล์ที่หลากหลายสำหรับการพิมพ์ แต่รูปแบบไฟล์ที่นิยมใช้กันมากที่สุด ได้แก่

  • PDF : เป็นหนึ่งในรูปแบบไฟล์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ เนื่องจากจะรักษารูปแบบงาน รวมถึงข้อความ รูปภาพ และกราฟิกได้เป็นอย่างดี
  • JPEG : เป็นรูปแบบไฟล์ภาพบีบอัดที่ใช้กันทั่วไปสำหรับภาพถ่าย และภาพที่มีรายละเอียดมาก
  • EPS : เป็นรูปแบบเวกเตอร์ที่ใช้กันทั่วไปสำหรับภาพประกอบ และกราฟิก
  • AI : เป็นรูปแบบเวกเตอร์ที่ใช้กันทั่วไป สำหรับงานกราฟิก หรือภาพประกอบ เช่น โลโก้ และข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการใช้ AI คือช่วยให้คุณสร้างกราฟิกที่ปรับขนาดได้ทุกขนาดโดยไม่สูญเสียคุณภาพนั่นเอง
  • PSD : คือรูปแบบแรสเตอร์ที่ใช้กันทั่วไปสำหรับรูปภาพ และรูปถ่าย รวมถึงรูปถ่ายที่เป็น ไฟล์ PSD เป็นรูปแบบไฟล์ดั้งเดิมสำหรับ Photoshop และสามารถส่งออกเป็นรูปแบบไฟล์ภาพอื่นๆ เช่น JPEG, TIFF, PNG และอื่นๆ ไฟล์ PSD เป็นรูปแบบไฟล์แบบแรสเตอร์ที่สามารถเปิด และแก้ไขได้โดยโปรแกรมออกแบบกราฟิกส่วนใหญ่ ทำให้เป็นรูปแบบไฟล์ที่โรงพิมพ์ยอมรับอย่างกว้างขวาง

2.เคล็ดลับในการสร้างภาพ และกราฟิกที่มีความละเอียดสูง

  • ความละเอียดสูง: เมื่อสร้างรูปภาพหรือกราฟิก สิ่งสำคัญคือต้องทำให้รูปภาพมีความละเอียดสูง เพื่อให้แน่ใจว่าบรรจุภัณฑ์ที่พิมพ์ออกมาจะมีคุณภาพสูง และดูดีเมื่อพิมพ์
  • ใช้ภาพแบบเวกเตอร์: ภาพแบบเวกเตอร์ เช่น ภาพที่สร้างขึ้นใน Illustrator นั้นไม่ขึ้นกับความละเอียด หมายความว่าสามารถปรับขนาดเป็นขนาดใดก็ได้โดยไม่สูญเสียคุณภาพ เหมาะสำหรับงานพิมพ์ เช่น โลโก้ โปสเตอร์ โบรชัวร์ และป้ายต่างๆ
  • ใช้ 300 dpi: สำหรับภาพแรสเตอร์ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าใช้ความละเอียดอย่างน้อย 300 dpi คือ ความละเอียดมาตรฐานสำหรับวัสดุการพิมพ์คุณภาพสูง และช่วยให้มั่นใจได้ว่าภาพของคุณจะดูคมชัดเมื่อพิมพ์ออกมา
  • เก็บภาพตามสัดส่วน: เมื่อสร้างภาพหรือกราฟิก ต้องมีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้สัดส่วน เพื่อป้องกันการบิดเบี้ยวเมื่อพิมพ์ภาพในขนาดอื่น
การดราฟท์ (Draft) งานพิมพ์บรรจุภัณฑ์ สิ่งสำคัญที่ลูกค้าจำเป็นจะต้องรู้ - 5

Q/A ตอบคำถามกับสิ่งที่ลูกค้าอาจสงสัย ?

การตรวจงาน Draft ก่อนการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ขั้นสุดท้ายถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้มีโอกาสตรวจสอบ และแก้ไขข้อผิดพลาด หรือปัญหาต่างๆ ของงานก่อนที่จะพิมพ์ ซึ่งอาจรวมถึงการสะกดคำผิด ปัญหาการจัดรูปแบบ และข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือขาดหายไป การตรวจสอบงาน Draft จะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าบรรจุภัณฑ์มีความถูกต้อง ตรงตามความคาดหวังของคุณ นอกจากนี้ กระบวนการตรวจสอบให้มีการแก้ไขที่จำเป็นก่อนที่จะพิมพ์บรรจุภัณฑ์ ยังรวมถึงการเปลี่ยนแปลงเค้าโครง การออกแบบ หรือเนื้อหา ให้ดีขึ้นอีกด้วย

สำหรับคำถามนี้ ทั้งงาน Draft และงานจากไฟล์สแกนทางโรงพิมพ์จะวิเคราะห์จากความยากง่าย ของงานที่ทางลูกค้าส่งมาให้ดู จากที่เกริ่นไปข้างต้น หากลูกค้าส่งตัวอย่างแพคเกจจิ้งมาให้ Draft งานแต่ไม่มีไฟล์โลโก้ ฟอนต์ตัวหนังสือ หรือรูปภาพประกอบก็จะทำให้งานมีความยากขึ้น และจะต้องเสียเวลา หรืออาจจะมีความเสี่ยงในเรื่องของลิขสิทธิ์รูปภาพ ตัวหนังสือได้เช่นเดียวกัน ฉะนั้นแล้ว ในเรื่องของราคา ค่าใช่ใช้จ่ายในส่วนนี้ ก็จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากความยากง่ายของโรงพิมพ์ ตามรูปแบบของงานต้นฉบับที่ลูกค้าส่งมาให้ดูนั่นเอง

แน่นอนว่าการ Draft คือการคัดลอกจากงานต้นแบบออกมา แต่ในส่วนของโรงพิมพ์ งานคัดลอกแบบนี้ไม่ได้มีแค่ตีเส้น ลากตัดกรอบเพียงอย่างเดียวเท่านั้น องค์ประกอบของแพคเกจจิ้งนั้นจะมีอยู่หลายส่วน เช่น โลโก้ การจัดวาง รูปภาพ หรือตัวหนังสือ ฉะนั้นแล้ว การ Draft งานออกมานั้นจะไม่สามารถทำให้เหมือนกับต้นฉบับได้อย่าง 100% แต่จะมีความใกล้เคียงอยู่ที่ 70 – 90 % เพราะองค์ประกอบที่กล่าวมาทั้งหมดจะมีผลโดยตรงต่อการคัดลอกงานในแต่ละครั้ง

สำหรับประโยชน์ของงาน Draft แน่นอนว่าจะต้องเป็นคำถามยอดฮิต หรือเป็นคำถามที่หลายๆ คนสงสัยว่างาน Draft จะมีประโยชน์อย่างไรบ้างต่องานพิมพ์บรรจุภัณฑ์ และสำหรับประโยชน์นั้นก็มีหลายข้อด้วยกัน เช่น สามารถที่จะร่างโครงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ออกมาตามที่ลูกค้าต้องการ ให้เห็นถึงว่าจะเป็นในลักษณะใด รวมไปถึงสีที่ใช้ ขนาด ฟอนต์ที่ใช้ ข้อความมีอะไรบ้างที่ต้องการใส่ลงไปบนบรรจุภัณฑ์ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่างานที่ได้จะตรงตามความต้องการ และยังช่วยประหยัดเวลา โดยการ Draft ล่วงหน้านั้น นักออกแบบสามารถปรับปรุงกระบวนการออกแบบ และมุ่งเน้นไปที่การปรับแต่งรายละเอียดมากกว่าการเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด นอกจากนี้ การ Draft งาน ยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต ซึ่งช่วยประหยัดเวลา และแรงได้มากขึ้นนั่นเอง