ระยะขอบและระยะตัดตกคืออะไร ทำไมสำคัญต่องานพิมพ์

ระยะขอบและระยะตัดตกคืออะไร ทำไมสำคัญต่องานพิมพ์

การออกแบบแต่ละครั้ง จะมีส่วนหนึ่งของการออกแบบที่เรียกว่า “ระยะขอบ” และ “ตัดตก” ซึ่งองค์ประกอบส่วนนี้จะสำคัญมากสำหรับการออกแบบดีไซน์สำหรับงานพิมพ์

ระยะขอบและระยะตัดตก คือสิ่งสำคัญเพราะจะเป็นตัวที่บ่งชี้ได้ว่างานที่พิมพ์ออกมานั้นจะมีส่วนที่ขาดหายไปหรือไม่ เนื่องจาก บริเวณขอบของชิ้นงานที่ออกแบบนั้นจะต้องเว้นระยะห่างเอาไว้ เพราะเวลาที่สิ่งผลิตแล้วจะมีขั้นตอนในส่วนที่ต้องตัดขอบออกนั้นเอง จึงทำให้ ต้องมี “ระยะขอบ” และ “ตัดตก” เข้ามาเป็นตัวช่วยในการกะระยะ ของรูปแบบที่ดีไซน์ออกมานั้นเอง

“ระยะขอบ” และ “ระยะตัดตก” คือการเผื่อเว้นระยะให้เกิดความคลาดเคลือนจากการตัดขอบให้น้อยที่สุด ซึ่งเราก็จะสามารถกำหนด หรือดูขอบเขตได้ว่าบริเวณไหนบ้างที่สามารถออกแบบ ใส่ดีไซน์ ลวดลาย ตัวอักษรได้อย่างเต็มที่ โดยที่จะไม่โดยตัดออกไปนั้นเอง แต่ระยะตัดตกนั้น จะเป็นส่วนที่ต้องตัดออก เพราะฉะนั้นแล้ว จึงไม่ควรที่จะมีส่วนที่สำคัญอยู่ในบริเวณตัดตก เดี๋ยวเราจะมาดูกันว่า ทั้งสองอย่างนี้ มีความต่างกันอย่างไร

ระยะขอบ คืออะไร

ระยะขอบ (Margin) นั้นจะเรียกอีกแบบว่า พื้นที่ Safe Area ที่จะอยู่ภายในชิ้นงานที่ออกแบบ  สามารถใส่รายละเอียดส่วนที่เป็นงานกราฟิกสำคัญๆ ภายในบริเวณพื้นที่อาณาเขตได้อย่างอิสระ ซึ่งก็อาจจะมีการออกแบบที่อยากให้มีการเหลื่อมล้ำ หรือวาดกราฟิกให้เลยออกไปจากพื้นที่ ซึ่งก็อาจจะเป็นความตั้งใจของผู้ออกแบบอยู่แล้วที่อยากจะนำเสนอการดีไซน์ โดยทั่วไปในพื้นที่ของระยะขอบจะเน้นไปที่งานกราฟิกเป็นหลัก ส่วนมากแล้วจะเว้นระยะจากส่วนตัดตกเข้ามาอยู่ที่ 3 มม.

4 ขั้นตอนการเตรียมไฟล์ส่งพิมพ์ Packaging 03

ระยะตัดตก คืออะไร

ระยะตัดตก (Bleed) เป็นระยะที่จะใช้เส้นขอบเป็นตัวกำหนด โดยจะอยู่ด้านนอกของพื้นที่ของไฟล์งาน พื้นที่นี้จะเป็นส่วนที่ไม่มีลวดลายของงานกราฟิกอยู่ เพราะพื้นที่ตรงนี้จะถูกตัดออกจากชิ้นงานในขั้นตอนของการผลิต ส่วนมากจะเว้นระยะตัดตกเอาไว้ประมาณ 3 มม. และเว้นออกจากระยะขอบให้เข้ามาอยู่ที่ประมาณ 3-5 มม.เพื่อทำให้เป็นระยะปลอดภัยสำหรับการตัดส่วนที่ไม่ต้องการ หรือส่วนที่อาจจะเป็นงานที่เกินออกมา

4 ขั้นตอนการเตรียมไฟล์ส่งพิมพ์ Packaging 04

ทั้งหมดนี้ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ สำหรับระยะตัดตก (Bleed) และระยะขอบ (Margin) ที่เปรียบได้เหมือนกับเส้นแบ่งเขตที่ช่วยเสริมให้ผู้ออกแบบสามารถทำงานได้ไม่ต้องกังวล เพราะฉะนั้นแล้ว ครั้งต่อไปที่ออกแบบก็อย่าลืมตั้ง “ระยะขอบ” และ “ตัดตก” กันด้วยนะคะเพื่อที่จะนำไปใช้กับงานพิมพ์ของพี่ๆ ทั้งหลาย เพื่อให้งานออกมาสวยงามไม่เหวี่ยง หรือขาดไป จากการตัดขอบนั่นเอง