การดราฟท์ (Draft) งานพิมพ์บรรจุภัณฑ์ สิ่งสำคัญที่ลูกค้าจำเป็นจะต้องรู้ - 1

การดราฟท์ (Draft) งานพิมพ์บรรจุภัณฑ์ สิ่งสำคัญที่ลูกค้าจำเป็นจะต้องรู้

การดราฟท์ (Draft) คือการคัดลอกรูป ลอกแบบ หรือร่างแบบให้ออกมาเหมือนกับงานต้นฉบับมากที่สุด หรือลอกเลียนแบบออกมาให้ใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุดนั่นเอง 

การดราฟท์แบบ โดยส่วนมากแล้วการดราฟท์จะทำในโปรแกรม Adobe Illustrotor หรือ Photoshop ซึ่งโปรแกรมนี้ถือเป็นโปรแกรมที่ทำได้ง่าย รวดเร็ว และได้ผลรับของงานออกมาดี มีคุณภาพมากที่สุด แต่สำหรับในส่วนไฟล์งานสแกนจะต่างกับงาน Draft ค่อนข้างมาก เนื่องจากไฟล์งานสแกนนั้นจะสามารถทำได้ง่ายกว่า และไม่ต้องลงรายละเอียดเยอะ เพราะที่ไฟล์สแกนมานั้นจะได้รายละเอียดครบตามงานต้นแบบ ซึ่งงานทั้ง 2 ประเภทนี้สำหรับงานของโรงพิมพ์แล้ว ถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างมาก เพราะลูกค้าที่ต้องการสั่งผลิตแพคเกจจิ้งนั้นจะต้องมีไอเดียของแพคเกจมาเป็นต้นแบบเอาไว้ให้ทางโรงพิมพ์ได้ดูเป็นตัวอย่าง หรือไปเป็นแม่แบบ เพื่อทำการคัดลอกออกมาให้เหมือนตามแบบที่ลูกค้าต้องการ

จากที่ได้เกริ่นไปข้างต้นสำหรับการ Draft และไฟล์งานสแกนนั้น ในส่วนงานของโรงพิมพ์ หนึ่งในปัญหาที่ลูกค้าจะพบเจอมากที่สุด และส่วนมากจะไม่เข้าใจนั่นก็คือ มีงานต้นฉบับแล้ว อยากให้โรงพิมพ์ลอกแบบมาให้เหมือนกัน แต่สำหรับในความเป็นจริง โรงพิมพ์จะสามารถถอดจากงานต้นแบบได้เพียงแค่ 70-90% จากการ Draft ที่ลูกค้ามีต้นแบบมาให้ แต่สำหรับงานสแกน จะได้รายละเอียดของงานออกมาเหมือนกับต้นฉบับอยู่ที่ 100% แต่สีหรือความคมชัดของภาพอาจจะดรอปลงนิดหน่อย ฉะนั้นในวันนี้เราจะพาลูกค้าที่น่ารักทุกท่านมารู้จักกับเงื่อนไขในการสั่งผลิตงาน Draft และการสั่งผลิตงานจากไฟล์สแกน ว่าต้องมีการเตรียมอะไรบ้างให้กับโรงพิมพ์

การดราฟท์ (Draft) งานพิมพ์บรรจุภัณฑ์ สิ่งสำคัญที่ลูกค้าจำเป็นจะต้องรู้ - 2

เงื่อนไขงาน Draft และไฟล์งานสแกน สำหรับส่งผลิตโรงพิมพ์

งาน Draft ที่ใช้สำหรับโรงพิมพ์ คืออะไร 

เริ่มต้นกันด้วยงาน Draft สำหรับลูกค้าที่น่ารักทุกท่านขั้นตอนแรกๆ ในการสั่งผลิตกับโรงพิมพ์นั้นก็จะต้องมีแบบของแพคเกจจิ้งหรือต้นแบบเพื่อเอาไว้สำหรับให้ทางโรงพิมพ์ได้ทำการคัดลอกจากต้นแบบที่ลูกค้าให้มา ซึ่งทางโรงพิมพ์จะนำเอาต้นแบบที่ได้มานั้นไปทำการ Draft จากรูปที่ได้มาโดยทางแผนกกราฟิกจะต้องเก็บรายละเอียดทีละขั้นตอน อย่างเช่น ถอดแบบขนาด ลายเส้น หรือลักษณะของแพคเกจ

และที่สำคัญ หากลูกค้าไม่มีไฟล์โลโก้ รูปภาพประกอบ ก็จะยิ่งทำให้งานมีความยากมากขึ้นไปอีก เนื่องจากงาน Draft โดยส่วนมากแล้วจะไม่สามารถทำออกมาให้เหมือนกับงานต้นฉบับได้อย่าง 100% เพราะรูปภาพบางชิ้นหรือฟอนต์บางตัวอาจจะติดลิขสิทธิ์ได้นั้นเอง แต่หากลูกค้ามีไฟล์ต้นฉบับของโลโก้หรือรูปภาพประกอบมาด้วยก็จะทำให้งานผลิตสามารถออกมาให้เหมือนต้นแบบได้ดียิ่งขึ้น

งานผลิตที่คัดลอกจาก ไฟล์งานสแกน ที่ลูกค้าส่งมาให้

ต่อกันด้วยการคัดลอกผ่านไฟล์งานสแกน ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นงานที่ง่ายกว่าประเภท Draft เนื่องจากไฟล์ที่ผ่านการสแกนมาแล้วจะมีรายละเอียดมาให้อย่างครบถ้วน ทางโรงพิมพ์จะได้ไม่ต้องทำการ Draft ทีละสัดส่วน ไฟล์งานสแกนที่ลูกค้านำมาให้โรงพิมพ์นั้นจะสามารถรู้ได้ถึงขนาด โลโก้ ตัวหนังสือ เพราะไฟล์ที่ได้มานั้นจะเป็นรูปภาพ หรือไม่ก็เป็นไฟล์ PDF จึงสามารถนำไปถอดแบบเพื่อเตรียมเข้ากระบวนการดีไซน์ของแพคเกจจิ้งต่อไปได้ในทันที

และไฟล์งานที่สแกนมานั้น จะต้องสแกนจากเครื่องปริ้นที่ได้คุณภาพ เพราะจะต้องเก็บรายละเอียดของแพคเกจจิ้งต้นแบบมาให้ได้มากที่สุดนั้นเอง ฉะนั้นแล้วคุณลูกค้าที่น่ารักทุกท่าน หากอยากให้การสั่งผลิตงานแพคเกจจิ้งให้ออกมาดีและเหมือนกับแพคเกจต้นฉบับที่คาดหวังเอาไว้ควรจะนำเอาไฟล์งานแบบสแกนแนบมาให้กับทางโรงพิมพ์เพื่อความสะดวกและการเก็บรายละเอียดที่ดีและเนียนมากที่สุด

การเตรียมไฟล์งานพิมพ์บรรจุภัณฑ์

1.ประเภทของรูปแบบไฟล์ที่โรงพิมพ์ยอมรับ

ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว โรงพิมพ์จะยอมรับรูปแบบไฟล์ที่หลากหลายสำหรับการพิมพ์ แต่รูปแบบไฟล์ที่นิยมใช้กันมากที่สุด ได้แก่

  • PDF : เป็นหนึ่งในรูปแบบไฟล์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ เนื่องจากจะรักษารูปแบบงาน รวมถึงข้อความ รูปภาพ และกราฟิกได้เป็นอย่างดี
  • JPEG : เป็นรูปแบบไฟล์ภาพบีบอัดที่ใช้กันทั่วไปสำหรับภาพถ่าย และภาพที่มีรายละเอียดมาก
  • EPS : เป็นรูปแบบเวกเตอร์ที่ใช้กันทั่วไปสำหรับภาพประกอบ และกราฟิก
  • AI : เป็นรูปแบบเวกเตอร์ที่ใช้กันทั่วไป สำหรับงานกราฟิก หรือภาพประกอบ เช่น โลโก้ และข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการใช้ AI คือช่วยให้คุณสร้างกราฟิกที่ปรับขนาดได้ทุกขนาดโดยไม่สูญเสียคุณภาพนั่นเอง
  • PSD : คือรูปแบบแรสเตอร์ที่ใช้กันทั่วไปสำหรับรูปภาพ และรูปถ่าย รวมถึงรูปถ่ายที่เป็น ไฟล์ PSD เป็นรูปแบบไฟล์ดั้งเดิมสำหรับ Photoshop และสามารถส่งออกเป็นรูปแบบไฟล์ภาพอื่นๆ เช่น JPEG, TIFF, PNG และอื่นๆ ไฟล์ PSD เป็นรูปแบบไฟล์แบบแรสเตอร์ที่สามารถเปิด และแก้ไขได้โดยโปรแกรมออกแบบกราฟิกส่วนใหญ่ ทำให้เป็นรูปแบบไฟล์ที่โรงพิมพ์ยอมรับอย่างกว้างขวาง

2.เคล็ดลับในการสร้างภาพ และกราฟิกที่มีความละเอียดสูง

  • ความละเอียดสูง: เมื่อสร้างรูปภาพหรือกราฟิก สิ่งสำคัญคือต้องทำให้รูปภาพมีความละเอียดสูง เพื่อให้แน่ใจว่าบรรจุภัณฑ์ที่พิมพ์ออกมาจะมีคุณภาพสูง และดูดีเมื่อพิมพ์
  • ใช้ภาพแบบเวกเตอร์: ภาพแบบเวกเตอร์ เช่น ภาพที่สร้างขึ้นใน Illustrator นั้นไม่ขึ้นกับความละเอียด หมายความว่าสามารถปรับขนาดเป็นขนาดใดก็ได้โดยไม่สูญเสียคุณภาพ เหมาะสำหรับงานพิมพ์ เช่น โลโก้ โปสเตอร์ โบรชัวร์ และป้ายต่างๆ
  • ใช้ 300 dpi: สำหรับภาพแรสเตอร์ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าใช้ความละเอียดอย่างน้อย 300 dpi นี่คือความละเอียดมาตรฐานสำหรับวัสดุการพิมพ์คุณภาพสูง และช่วยให้มั่นใจได้ว่าภาพของคุณจะดูคมชัดเมื่อพิมพ์ออกมา·       เก็บภาพตามสัดส่วน: เมื่อสร้างภาพหรือกราฟิก ต้องมีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้สัดส่วน เพื่อป้องกันการบิดเบี้ยวเมื่อพิมพ์ภาพในขนาดอื่น
การดราฟท์ (Draft) งานพิมพ์บรรจุภัณฑ์ สิ่งสำคัญที่ลูกค้าจำเป็นจะต้องรู้ - 5

Q/A ตอบคำถามกับสิ่งที่ลูกค้าอาจสงสัย ?

ทำไมต้องตรวจงาน Draft ก่อนพิมพ์บรรจุภัณฑ์ ?
การตรวจงาน Draft ก่อนการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ขั้นสุดท้ายถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้มีโอกาสตรวจสอบ และแก้ไขข้อผิดพลาด หรือปัญหาต่างๆ ของงานก่อนที่จะพิมพ์ ซึ่งอาจรวมถึงการสะกดคำผิด ปัญหาการจัดรูปแบบ และข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือขาดหายไป การตรวจสอบงาน Draft จะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าบรรจุภัณฑ์มีความถูกต้อง ตรงตามความคาดหวังของคุณ นอกจากนี้ กระบวนการตรวจสอบให้มีการแก้ไขที่จำเป็นก่อนที่จะพิมพ์บรรจุภัณฑ์ ยังรวมถึงการเปลี่ยนแปลงเค้าโครง การออกแบบ หรือเนื้อหา ให้ดีขึ้นอีกด้วย

งาน Draft และงานจากไฟล์สแกน มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหรือไม่ ?
สำหรับคำถามนี้ ทั้งงาน Draft และงานจากไฟล์สแกนทางโรงพิมพ์จะวิเคราะห์จากความยากง่าย ของงานที่ทางลูกค้าส่งมาให้ดู จากที่เกริ่นไปข้างต้น หากลูกค้าส่งตัวอย่างแพคเกจจิ้งมาให้ Draft งานแต่ไม่มีไฟล์โลโก้ ฟอนต์ตัวหนังสือ หรือรูปภาพประกอบก็จะทำให้งานมีความยากขึ้น และจะต้องเสียเวลา หรืออาจจะมีความเสี่ยงในเรื่องของลิขสิทธิ์รูปภาพ ตัวหนังสือได้เช่นเดียวกัน ฉะนั้นแล้ว ในเรื่องของราคา ค่าใช่ใช้จ่ายในส่วนนี้ ก็จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากความยากง่ายของโรงพิมพ์ ตามรูปแบบของงานต้นฉบับที่ลูกค้าส่งมาให้ดูนั่นเอง

งาน Draft ที่ทำออกมานั้นจะสามารถทำให้เหมือนกับงานต้นฉบับได้ 100% หรือไม่ ?
แน่นอนว่าการ Draft คือการคัดลอกจากงานต้นแบบออกมา แต่ในส่วนของโรงพิมพ์ งานคัดลอกแบบนี้ไม่ได้มีแค่ตีเส้น ลากตัดกรอบเพียงอย่างเดียวเท่านั้น องค์ประกอบของแพคเกจจิ้งนั้นจะมีอยู่หลายส่วน เช่น โลโก้ การจัดวาง รูปภาพ หรือตัวหนังสือ ฉะนั้นแล้ว การ Draft งานออกมานั้นจะไม่สามารถทำให้เหมือนกับต้นฉบับได้อย่าง 100% แต่จะมีความใกล้เคียงอยู่ที่ 70 – 90 % เพราะองค์ประกอบที่กล่าวมาทั้งหมดจะมีผลโดยตรงต่อการคัดลอกงานในแต่ละครั้ง

งาน Draft มีประโยชน์อย่างไรกับงานพิมพ์บรรจุภัณฑ์ ?
สำหรับประโยชน์ของงาน Draft แน่นอนว่าจะต้องเป็นคำถามยอดฮิต หรือเป็นคำถามที่หลายๆ คนสงสัยว่างาน Draft จะมีประโยชน์อย่างไรบ้างต่องานพิมพ์บรรจุภัณฑ์ และสำหรับประโยชน์นั้นก็มีหลายข้อด้วยกัน เช่น สามารถที่จะร่างโครงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ออกมาตามที่ลูกค้าต้องการ ให้เห็นถึงว่าจะเป็นในลักษณะใด รวมไปถึงสีที่ใช้ ขนาด ฟอนต์ที่ใช้ ข้อความมีอะไรบ้างที่ต้องการใส่ลงไปบนบรรจุภัณฑ์ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่างานที่ได้จะตรงตามความต้องการ และยังช่วยประหยัดเวลา โดยการ Draft ล่วงหน้านั้น นักออกแบบสามารถปรับปรุงกระบวนการออกแบบ และมุ่งเน้นไปที่การปรับแต่งรายละเอียดมากกว่าการเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด นอกจากนี้ การ Draft งาน ยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต ซึ่งช่วยประหยัดเวลา และแรงได้มากขึ้นนั่นเอง